ประวัติยาหม่อง

ประวัติยาหม่อง

ถ้าหากพูดถึงสิ่งที่คนไทยนิยมใช้และพกติดตัวกันในฐานะของยาสามัญประจำบ้านและประจำตัว ก็คงจะหนีไม่พ้นยาหม่อง ที่เพียงได้ยินชื่อก็สามารถบ่งบอกถึงสรรพคุณที่มากมายหลากหลาย

แต่หากเราลองมานั่งทบทวนกันดูดีๆ จะเห็นว่ายาหม่องของสามัญประจำบ้านของเราเนี่ย มีมานานแสนนาน และไม่มีใครทราบประวัติที่แน่ชัดของยาหม่องอีกด้วย ว่ามาจากไหน และทำไมถึงเรียกว่า “ยาหม่อง” กันล่ะ?

วันนี้เราจึงนำเรื่องราวและทฤษฎีความเป็นไปได้ของต้นกำเนิดยาหม่องมาให้ดูกัน

ทฤษฎีที่ 1 : Hawpar Group

Hawpar Group เป็นบริษัทเริ่มแรกที่เข้ามาทำธุรกิจยาหม่องในไทยอย่างเป็นทางการ ต้นกำเนิดของ Hawpar Group มาจากสองพี่น้อง โอ้ว บุ้น โฮ้ว (Aw Boon Haw) และ โอ้ว บุ้น พาร์ (Aw Boon Par) ของแพทย์แผนโบราณ หรือที่เรียกกันว่า ซินแส เมื่อประมาณ 100 ปี ก่อน

ทั้งคู่ได้เริ่มธุรกิจจากการนำเอาวิชาความรู้ทางการแพทย์แผนโบราณมาผสมผสานเข้ากับวิทยาการสมัยใหม่ของฝั่งตะวันตก ที่เกิดออกมาเป็น น้ำมันเข้มข้น ที่ถูกเรียกขานว่าเป็น ยาสารพัดประโยชน์ที่รักษาได้แทบทุกอาการ หรือก็คือ ยาหม่อง ในปัจจุบัน นั่นเอง

ซึ่งทฤษฏีที่ 1 นี้เปรียบเสมือนจุดเริ่มต้นของพี่น้อง Hawpar Group ที่เชื่อมโยงไปสู่ ทฤษฎีที่ 2 และ 3

ทฤษฎีที่ 2 : เริ่มต้นที่พม่า

ต่อจากทฤษฎีที่ 1 หรือจุดเริ่มต้นของ Hawpar Group ที่เริ่มทำการคิดค้นและผลิต “ยาหม่อง” หรือที่สมัยนั้นเรียกกันว่า  “ยาขี้ผึ้ง” ด้วยเศรษฐกิจและการแข่งขันที่สูงในประเทศจีน รวมทั้งเสาหลักของครอบครัวอย่างพ่อยังเสียชีวิตลง ทำให้พี่น้อง โอ้ว บุ้น โฮ้ว และ โอ้ว บุ้น พาร์ ตัดสินใจอพยพไปหากินในต่างแดนแทน โดยสร้างบ้านและเปิดร้านรับรักษาคนไข้อยู่ ณ กรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า นอกจากการเปิดตัวเหมือนคลินิกขนาดเล็ก พี่น้องโฮ้วพาร์ก็ยังพยายามที่จะทำการค้าขายกับยาขี้ผึ้งของพวกเขา ซึ่งท้ายที่สุดได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ด้วยสรรพคุณที่รักษาได้ครอบจักรวาล ไม่ว่าจะเป็นอาการปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอก หรือ แม้แต่การถูกแมลงกัดต่อย จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้กิจการสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ซึ่งพี่น้องโฮ้วพาร์ก็ไม่รอช้ากับโอกาสทองที่เกิดขึ้น พวกเขาจึงตัดสินใจทำการส่งออกสินค้าไปสู่ประเทศเพื่อนบ้านของพม่า ซึ่งมีไทยรวมอยู่ในนั้นด้วย

ซึ่งคนไทยในสมัยเก่านั้นเรียกชาวพม่าว่า “หม่อง” หนำซ้ำพี่น้องโฮ้วพาร์เป็นเหมือนแพทย์ที่ขนยามาขายจากคลังที่ประเทศพม่า จึงทำให้เกิดการเรียกยานี้ว่า “ยาหม่อง” มาจนถึงปัจจุบัน

ทฤษฎีที่ 3 : ตีฆ้องขายของ

ทฤษฎีนี้ก็จะเชื่อมโยงมาจากฤษฎีข้างต้นที่ว่าหลังจากได้ยาขี้ผึ้งหรือยาน้ำมันมาแล้ว พี่น้องโฮ้วพาร์ก็เป็นผู้ขนมาขายเช่นเดียวกันกับทฤษฎีที่ 2 เพียงแต่ว่ามาในฐานะของนักมายากล โอ้ว บุ้น โฮ้ว และ โอ้ว บุ้น พาร์ นักมายากลจากประเทศจีน ผู้อพยพมาสร้างเนื้อสร้างตัวในประเทศไทยด้วยความสามารถในการแสดงและเอ็นเตอร์เทนเม้นท์

ซึ่งหลังจากเริ่มการแสดงมายากลของพี่น้องโฮ้วพาร์ไปได้สักพักหนึ่ง ก็จะมีการตีฆ้อง เพื่อเรียกความสนใจของผู้ชมให้มองและฟังในสิ่งที่พี่น้องโฮ้วพาร์กำลังจะทำต่อไป นั้นก็คือการขายยาขี้ผึ้ง ซึ่งเวลาตีฆ้องจะมีเสียงดังเป็นเสียงคล้ายกับ “หม่อง หม่อง หม่อง” จึงกลายมาเป็นที่มาของคำว่า “ยาหม่อง” ในอดีต

ทฤษฎีที่ 4 : ต้นกำเนิดที่ยุโรป

ยาหม่องถูกกล่าวว่ากำเนิดในประเทศแถบยุโรป เนื่องจากเป็นเมืองหนาว ผู้คนหรือชาวบ้านก็มักจะเป็นหวัดและคัดจมูกกันมาก เพราะสภาพอากาศที่หนาวเย็นและเปลี่ยนแปลงบ่อย จึงมีการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์โดยการนำน้ำมันที่เรียกว่าเมนทอลาทัม มาทาบรรเทา อาการเป็นหวัดหรือคัดจมูก ต่างๆนานา

ในช่วงเวลาต่อมาได้มีการประยุกต์ใช้นำเอาเมนทอลาทัม มาผสมกับสมุนไพรต่างๆ เพื่อสร้างความหลากหลายและโดดเด่น รวมทั้งเพิ่มกลิ่นและรสให้มีความร้อนแรงมากยิ่งขึ้น

ท้ายสุดจึงทำการส่งออกมาขายทางประเทศสิงคโปร์และมาเลเซีย เมื่อเข้ามาในประเทศไทยซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงจึงแพร่หลาย และยี่ห้อแรกๆที่เข้ามาขายประเทศไทย ก็คือ Hawpar Group นั้นเอง

ทฤษฎีที่ 5 : น้ำมันหม่องตะหยก

ในทฤษฎีนี้เราทำการอ้างอิงจากหนังสือชื่อ “หมอๆ ยาๆ” ได้ระบุไว้ว่า ต้นกำเนิดของยาหม่องมาจาก “น้ำมันหม่องตะหยก” ที่มีลักษณะเป็นขี้ผึ้งอ่อน สีขาวขุ่น เมื่อทาแล้วให้ความรู้สึกร้อนซ่า ช่วยแก้เคล็ดขัดยอกได้ดี ถูกบรรจุอยู่ใบตลับสังกะสีขนาดเล็กเท่าเหรียญบาท เมื่อน้ำมันหม่องตะหยกเข้ามาทำธุรกิจและประสบความสำเร็จ ก็ย่อมมีคู่แข่งที่ต้องการทำธุรกิจที่มีการแข่งขันที่ต่ำ และได้กำไรสูง ก็เลยเป็นที่มาของ “น้ำมันหม่องตะกิด” ที่มาแข่งขันในตลาด แต่ท้ายที่สุดนั้นทั้งสองบริษัทนี้กลับหายไปจากตลาดอย่างไร้ร่องรอย แต่ด้วยความนิยมอย่างสูงในอดีตทำให้เกิดภาพลักษณ์ที่ติดหูติดตาสำหรับชาวไทย จึงทำให้เรียกขี้ผึ้งที่มีลักษณะและสรรพคุณที่คล้ายคลึงกันว่า “ยาหม่อง” เฉกเช่นเดียวกันกับทฤษฎีที่คนแรกติดปากเรียกผงซักฟอกว่า “แฟ้บ” หรือบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปว่า “มาม่า”

ข่าวสารและกิจกรรมอื่นๆ

“วังว่าน” ขอร่วมเป็นส่วนหนึ่ง ในการตอบแทนสังคม  โดยการร่วมมือกับ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 

“วังว่าน” ขอร่วมเป็นส่วนหนึ่ง ในการตอบแทนสังคม โดยการร่วมมือกับ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพท

ดูเพิ่มเติม »

พวกเราทีมงาน “วังว่าน” รู้สึกเป็นเกียรติและดีใจเป็นอย่างมาก  ที่ได้มีโอกาสมอบ กระเช้าผลิตภัณฑ์ตรา “วังว่าน วังว่าน วังว่าน”  ให้กับผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คุณชัชชาติ สิทธิพันธุ์ 

พวกเราทีมงาน “วังว่าน” รู้สึกเป็นเกียรติและดีใจเป็นอย่างมาก ที่ได้มีโอกาสมอบ กระเช้าผลิตภั

ดูเพิ่มเติม »

HOME

LOGIN/REGISTER

ACCOUNT

NOTIFY PAYMENT